การรำฉุยฉาย

.
ารรำฉุยฉาย หมายถึง ลีลาการร่ายรำขณะที่ตัวละครเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถแปลงกายหรือแต่งกายได้อย่างสวยงดงาม เป็นศิลปะการร่ายรำที่มีความวิจิตรบรรจง ผู้ที่ร่ายรำจะต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือ องค์ประกอบที่สำคัญในการรำฉุยฉาย คือ ตัวละครที่มีรูปร่างและใบหน้าที่งดงาม มีความสามารถในการร่ายรำและสามารถสอดใส่อารมณ์ได้ถูกต้องตามแบบบทคำร้อง และเสียงของปี่ที่เป่าเลียนแบบเสียงคำร้องอย่างชัดถ้อยชัดคำ
กรรำฉุยฉายนั้นจะประกอบไปด้วยเพลงรัว ร้องเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรี จบด้วยเพลงเร็ว – ลาเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรี เป็นเพลงโบราณ เพลงฉุยฉายเป็นเพลงช้า ส่วนเพลงแม่ศรีนั้นเป็นเพลงเร็ว อยู่ในอัตราเพลง ๒ ชั้น เรียกตามหน้าทัพว่า “สองไม้”



.

ที่มาของรำฉุยฉาย

.
ความหมายของคำว่า “ฉุยฉาย
ฉุยฉาย ในความหมายตามพจนานุกรม เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเพลงร้องและท่ารำชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง กรีดกราย
คำว่า ฉุยฉาย ในอีกความหมายหนึ่ง เป็นอุปมาอุปไมย แสดงถึงลักษณะอุปนิสัยของคนที่ไม่เอาการเอางาน ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีความจริงจัง ไม่ทะมัดทะแมง หรือไม่ยอมทำการงานอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอัน มีความสนเฉพาะการแต่งกายให้สวยงาม แล้วกรีดกรายเดินไปเดินมาเท่านั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นคนหยิบหย่ง จึงมีการเรียกผู้ที่มีอุปนิสัยดังกล่าวว่า เป็นการทำตัวฉุยฉายไปฉุยฉายมา
ในทางนาฏกรรม รำฉุยฉาย เป็นการแสดงภาษาทางนาฏศิลป์ไทยที่มีคุณค่าทางศิลปะเป็นอย่างเลิศ นิยมกันว่าตัวละครสามารถแสดงอารมณ์ภาคภูมิใจออกมาทางท่ารำได้ดีกว่าที่จะพูดออกมาทางปาก ใช้รำในตอนที่ตัวละครแสดงความภาคภูมิใจ ในเมื่อเห็นว่าตนเองแต่งตัวได้อย่างสวยสดงดงาม หรือใช้แสดงในเมื่อสมมติว่าตัวละครแปลงกายจากเดิมที่ไม่สวยแปลงมาให้สวย และเมื่อเห็นว่าตนแปลงกายได้สวยงามเป็นที่พึงพอใจ ก็รำฉุยฉายแสดงความรู้สึกออกมา

.
คำว่า ฉุยฉาย จึงมีความหมายที่แยกได้เป็น ๒ นัย กล่าวคือ ใช้เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของบุคคลที่ไม่รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ ส่วนอีกนัยหนึ่งเป็นความหมายที่เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์โดยตรง กล่าวคือเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสวยงามของตัวละครนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกาย การเลียนแบบ การแปลงกายให้เหมือน หรือการแปลงกายให้มีความผิดแปลกไปจากเดิม เป็นต้น

ฉุยฉายพราหม์

.
ฉุยฉาย” ในทางนาฏศิลป์ เป็นการแสดงประเภทหนึ่งที่มี่คุณค่าทางศิลปะพร้อมมูลด้วยผู้แสดงต้องใช้ความสามารถในการร่ายรำเป็นอย่างสูง เพื่อให้มีความโดดเด่นเป็นที่ตรึงตาต่อผู้ชม และต้องแสดงให้เข้าถึงบทบาทที่จะเปิดเผยอารมณ์ และความภาคภูมิใจภายในออกมา ด้วยท่ารำให้ได้ชัดเจนอย่างงดงาม
โดยทั่วไปมักรำฉุยฉายในตอนที่ตัวละครแสดงถึงความชื่นชม ความพอใจในตนเองที่แต่งตัวได้อย่างสวยสดงดงาม หรือแสดงในตอนที่ตัวละครแปลงกายเปลี่ยนไปจากร่างเดิมจากที่ไม่มีความสะสวยให้มีความสวยงาม บางคราวก็เปลี่ยนบุคลิกให้แตกต่างไป ได้แก่ จากหญิงเป็นชาย หรือจากปกติเป็นพิกลพิการ หรือเป็นสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น เมื่อเห็นว่าเปลี่ยนแปลงกายได้สมใจตนตามที่ต้องการ ตัวละครก็จะร่ายรำฉุยฉายแสดงถึงความรู้สึก ความพึงพอใจในรูปลักษณ์ใหม่ที่ออกมา

.
ศิลปินผู้ที่จะสามารถรำฉุยฉายได้ดี ต้องผ่านการฝึกฝนการรำมามากพอสมควร โดยเฉพาะเพลงรำที่เป็นมาตรฐานต่าง ๆ ได้แก่ เพลงช้า เพลงเร็ว รำแม่บท ตลอดจนการรำชุดอื่น ๆ เป็นต้น เพราะลีลา และกลเม็ดในการรำนั้นจะต้องได้รับการสั่งสมาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการสอดใส่อารมณ์ ความรู้สึก แล้วแสดงออกมาทางใบหน้า ท่าทาง ตลอดจนการเคลื่อนไหวทุกสัดส่วนของร่างกาย นับตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า นับเป็นสุนทรียะของการรำที่สามารถเข้าถึงได้ยาก ผู้ที่ไม่เข้าถึงในเชิงศิลปะการร่ายรำอย่างลึกซึ้ง เมื่อแสดงรำฉุยฉาย ก็จะไม่เห็นความประณีตศิลป์ที่มีความทรงคุณค่าทางการร่ายรำ

ฉุยฉายพราหม์

.
การรำฉุยฉายมีหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน และความสมบูรณ์แบบในทางนาฏศิลป์ไทยอย่างพร้อมมูล จึงนับเป็นศิลปะการร่ายรำชั้นสูงอย่างหนึ่ง และสามารถรำให้ได้ดีตามแบบฉบับนั้นได้ยาก จุดเด่นที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการรำฉุยฉาย คือ ท่ารำในทำนองปี่ที่เป่าล้อเลียนเสียงคำร้อง ถ้าคนปี่สามารถเป่าปี่เลียนเสียงคำร้องได้ชัดถ้อยชัดคำ ก็นิยมว่าศิลปินคนนั้นเป่าปี่เป็นเลิศ ในทำนองเดียวกันถ้าตัวละครรำฉุยฉายได้ดีวิจิตรงดงาม ก็ถือว่านาฏศิลปินผู้นั้นมีความเป็นเลิศเช่นกัน

การแต่งกายในการรำฉุยฉาย

.
การรำฉุยฉาย เป็นการรำในลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย และมีความแตกต่างกันตามประเภทของการแสดง ฉุยฉายแต่ละชุดการแสดงมีรูปแบบเฉพาะตามบุคลิกของตัวละครในบทบาทนั้น ๆ การรำฉุยฉายมีหลากหลายชุดที่นำตัวละครเอก จากวรรณคดีมาเป็นผู้รำ มีหลายชุดที่บทร้องมีบทพรรณนาถึงบุคลิกลักษณะหน้าตาท่าทาง การแต่งองค์ทรงเครื่อง บางครั้งก็แสดงถึงอุปนิสัยใจคอของตัวละคร ส่วนมากเนื้อหาของบทคำร้องมักจะแสดงให้เห็นถึงการมีจริตกรีดกราย เยื้องย่างที่มีความสง่างาม อันมีความสัมพันธ์ตรงกับลักษณะของการแสดงประเภทนี้ ดังนั้นเครื่องแต่งกายของตัวละครในการรำฉุยฉายจึงมีลักษณะที่มีความสอดคล้องกลมกลืนไปตามตัวละครที่ต้องรำ ซึ่งจะแบ่งได้ดังนี้

.
. เครื่องแต่งกายแบบยืนเครื่อง
การแต่งกายแบบยืนเครื่องในลักษณะนี้ จะมีทั้งที่เป็นพระ นาง ยักษ์ ลิงและพราหมณ์ ได้แก่ รำฉุยฉายที่อยู่ในการแสดงโขน ละครนอก เช่น เรื่องคาวี เรื่องสุวรรณหงส์ ฯลฯ ในการรำเบิกโรง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะว่าละครรำที่เป็นมาตรฐาน อันได้แก่ โขน ละครนอก ละครใน ต้องแต่งกายยืนเครื่อง

.
. การแต่งกายตามสภาพ
การแต่งกายในลักษณะนี้ จะเป็นไปตามสภาพ หรือฐานะของตัวละคร ได้แก่ แต่งแบบชาวบ้าน เช่น ฉุยฉายไกรทอง ฉุยฉายวันทอง เป็นต้น แต่งแบบละครพันทาง เช่น ฉุยฉายบุเรงนอง เป็นต้น แต่งแบบนุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ห่มสไบปัก  เช่น ฉุยฉายศูปรนขา ฉุยฉายยอพระกลิ่น เป็นต้น

ฉุยฉายวันทอง

.

การรำฉุยฉายจะแยกประเภทตามลักษณะที่ปรากฏ

.
การรำฉุยฉายสมารถแยกประเภทตามลักษณะที่ปรากฏในการแสดงได้ดังนี้
. รำฉุยฉายที่อยู่ในการแสดงโขน ได้แก่
– รำฉุยฉายอินทรชิต (อินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์) ตอนศึกพรหมมาสตร์
– รำฉุยฉายมานพ (หนุมานแปลง) ตอนศึกวิรุญจำบัง
– รำฉุยฉายเบญจกาย (นางเบญจกายแปลงเป็นนางสีดา) ตอนนางลอย
– รำฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน ตอนหนุมานถวายแหวน
– รำฉุยฉายทศกัณฐ์ (หนุมานแปลง) ตอนทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์
– รำฉุยฉายฤษีแดง (ทศกัณฐ์แปลง) ตอนตามกวาง
– รำฉุยฉายทศกัณฐ์ ตอนกำเนิดทศกัณฐ์
– รำฉุยฉายหนุมานทรงเครื่อง ตอนชูกล่องดวงใจ

. รำฉุยฉายที่อยู่ในการแสดงละคร ได้แก่
– รำฉุยฉายยอพระกลิ่น ละครนอก เรื่องมณีพิชัย
– รำฉุยฉายพราหมณ์เล็กพราหมณ์โต ละครนอก เรื่องสุวรรณหงส์
– รำฉุยฉายนางแมว ละครนอก เรื่องไชยเชษฐ์
– รำฉุยฉายเสือโค ละครนอก เรื่องหลวิชัย – คาวี
– รำฉุยฉายไกรทอง ละครนอก เรื่องไกรทอง
– รำฉุฉายวันทอง ละครนอก เรื่องขุนช้าขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ
– รำฉุยฉายศูปรนขา ละครดึกดำบรรพ์ เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศูปรนขาตีสีดา
– รำฉุยฉายฮเนา ละคร เรื่องเงาะป่า

. รำฉุยฉายทีประดิษฐ์ขึ้นในโอกาสต่าง ๆ ได้แก่
– รำชุมนุมฉุยฉาย
– รำฉุยฉายเพลงปี่

. รำฉุยฉายเบิกโรง ได้แก่
– รำฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง เป็นการรำเบิกโรงละครใน
– รำฉุยฉายพราหมณ์ อยู่ในการแสดงเบิกโรง เรื่องพระคเณศร์เสียงา

.

บทความโดย ครูฝัน